วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความหมายของหนังสั้น


Image result for ความหมายของหนังสั้น


ความหมายของหนังสั้น


หนังสั้น
 คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้นๆ แต่ได้ใจความ
            ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขต ได้ เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคน อย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น

บุคลากรสำคัญสำหรับภาพยนตร์สั้น
บุคลากรที่จะเป็นบุคคลสำคัญที่ผลิตภาพยนตร์สั้นมีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ ผู้จัดการสร้าง (Producer) และผู้กำกับภาพยนตร์ (Director)
1.      ผู้จัดการสร้าง (Producer) คือ ผู้ที่ทำงานบริหารงานภาพยนตร์ งานส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปด้านวางแผนจัดการประสานงานควบคุมการผลิต และนำภาพยนตร์ออกฉาย ขั้นตอนการทำงานของผุ้จัดการสร้าง มีดังนี้
o    1.1 คิดโครงการ
o    1.2 เสนอโครงการต่อแหล่งทุน
o    1.3 จัดหาทีมงาน
o    1.4 จัดหาและคัดเลือกผู้แสดง
o    1.5 ควบคุมการผลิต
o    1.6 ประสานงานการประชาสัมพันธ์
o    1.7 นำภาพยนตร์ออกฉาย
1.1 คิดโครงการ ผู้จัดการสร้างจะคิดโครงการ หรือออกแบบโครงการภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ ชีวิตเด็กข้างถนน แท็กซี่เก็บเงินล้านได้ สาวประเภทสอง ผู้จัดการสร้างจะต้องคำนึงว่าหัวข้อที่คิดขึ้นนั้นว่า จะได้ผลหรือไม่ กล่าวคือ น่าสนใจมีความเป็นไปที่จะมีผู้สนับสนุน โดยโครงการนั้นจะประกอบไปด้วยแนวคิด  เรื่องย่อ รายชื่อผู้แสดง รายชื่อทีมงาน แผนการทำงาน
1.2 เสนอโครงการต่อแหล่งทุน ผู้ดำเนินการสร้างจะนำโครงการติดต่อหาผู้สนับสนุน อาจจะเป็นองค์กรการกุศล หอศิลปะ ผู้มีฐานะทางการเงินดีที่เห็นด้วยกับโครงการ การรวบรวมเงินจำนวนคนละเล็กน้อยจากเพื่อนฝูงพี่น้อง รวมถึงการขอใช้กล้องฟรี ขอฟิล์มฟรี ขอใช้บริการห้องแล็ปฟรี ดังนี้เป็นต้น
1.3 จัดหาทีมงาน ผู้ดำเนินการสร้างจะจัดทีมงาน เช่น ผู้ถ่ายภาพ ผู้แต่งหน้า ทำผม ฝ่ายจัดฉาก ผู้ช่วยผู้กำกับ ฯลฯ
1.4 จัดหาผู้แสดง เมื่อได้แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกนักแสดงที่ชัดเจนแล้ว ผู้จัดการสร้างจะสรรหาผู้แสดง โดยเสาะหา คัดเลือก ติดต่อ ทาบทาม ทำสัญญาว่าจ้าง (ส่วนบุคลิกตัวละคร ความสามารถในการแสดง ผู้กำกับจะเป็นผู้พิจารณาโดยผู้จัดการสร้างร่วมตัดสินใจ)
1.5 ควบคุมการผลิต ผู้จัดการสร้างจะต้องควบคุมการผลิตให้ได้ผลงานที่ดี โดยใช้จ่ายไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ ต้องบริหารเงินให้มีค่าประสิทธิผล อำนวยความสะดวกให้ผู้กำกับ ผู้แสดง ช่างภาพ และทีมงานอื่นๆ ให้สร้างสรรค์งานได้อย่างสบายใจ จะต้องชั่งน้ำหนัก จัดสรรเงินให้ดีไม่บีบ่ไม่บีบคั้นทีมงานหรือหละหลวมเกินไป การควบคุมการผลิตอยู่ระหว่างกลางของการจัดวางงบประมาณและการสร้างสรรค์
1.6 การประสานงานประชาสัมพันธ์ เมื่อผลิตภาพยนตร์เสร็จแล้ว ก็นำภาพยนตร์ออกฉายผู้จัดการสร้างจะต้องวางแนวคิดในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดทำโปสเตอร์ เขียนข่าวติดต่อกับคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์เพื่อให้ลงข่าว จัดทำสูจิบัตรและบัตรเชิญ
1.7 จัดนำภาพยนตร์ออกฉาย ผู้จัดการสร้างจะต้องจัดหาสถานที่นำภาพยนตร์ออกฉาย อาจจะใช้หอศิลปหรือส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ในงานมหกรรมภาพยนตร์ต่างๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ผลงานและหาผู้สนับสนุนในการสร้างเรื่องต่อไป ซึ่งหากโชคดีอาจจะเข้าตาผู้บริหารค่ายภาพยนตร์ใหญ่ๆ ที่ชวนไปทำภาพยนตร์เรื่องยาว
2.      ผู้กำกับภาพยนตร์ (Director) คือ ตำแหน่งที่จะสร้างสรรค์งานภาพยนตร์ให้มีคุณภาพ และบรรลุเป้าหมายงานของผู้กำกับภาพยนตร์มีดังนี้
o    2.1 ตีความบทภาพยนตร์
o    2.2 กำหนดรูปแบบของภาพยนตร์
o    2.3 สร้างคุณค่าทางศิลปะแก่งานภาพยนตร์
o    2.4 ควบคุมขั้นตอนหลังการถ่ายทำ (post-production)
2.1 ตีความบทภาพยนตร์ เมื่อได้บทภาพยนตร์มาแล้วผู้กำกับมีหน้าที่ตีความบทภาพยนตร์ว่า ถ้าออกมาเป็นภาพยนตร์แล้วจะเป็นอย่างไร ตรงไหนจะเพิ่มตรงไหนจะลด ตรงไหนปรับปรุงแก้ไข เข้าใจความหมายของผู้เขียนบทว่าแต่ละฉากจะเสนออะไร ภาพยนตร์ทั้งเรื่องเสนออะไร
2.2 กำหนดรูปแบบของภาพยนตร์ ผู้กำกับเป็นผู้กำหนดหน้าตา (look) ของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ว่าจะมีรูปแบบอย่างไร เช่น เป็นแบบฝันๆ แบบน่ากลัว แบบจริงจัง ฉูดฉาดหรือเรียบง่าย สิ่งเหล่านี้บางทีคิดโดย
  • ก. คิดถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะชม
  • ข. ตามแนวของเรื่อง
  • ค. ตามลักษณะเฉพาะตัวของผู้กำกับ
2.3 สร้างคุณค่าทางศิลปะ ผู้กำกับเป็นผู้ที่จะต้องผสมผสานส่วนประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ภาพยนตร์มีความงดงาม เช่น การจัดภาพ การจัดแสง ผู้แสดง บทบาท ผู้แสดงวางจังหวะลีลาให้มีคุณค่าทางศิลปะ
2.4 ควบคุมขั้นตอนหลังการถ่ายทำ (post-production) ผู้กำกับภาพยนตร์จะต้องควบคุมงานขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ซึ่งมีการตัดต่อลำดับภาพ การบันทึกเสียง การทำภาพพิเศษ การกำหนดโครงสีและการทำไตเติ้ล ผู้กำกับภาพยนตร์จะต้องควบคุมดูแลในแง่ศิลปะต่างๆ เพื่อให้ผลงานนั้นสมบูรณ์ที่สุด 


ที่มา : http://samforkner.org/source/dirshortfilm.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น