วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชนิดของข้อมูลและตัวแปรในภาษาซี



ชนิดของข้อมูล (data type)
            ในการเขียนโปรแกรมหนึ่งๆ จะมีข้อมูลต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น
การนับจำนวนรอบ (loop) ของการทำงานโดยใช้ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม หรือการแสดงข้อความ
โดยใช้ข้อมูลชนิดตัวอักษร จะเห็นว่าข้อมูลต่างๆ ถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามจุดประสงค์ของการใช้งาน
นอกจากนี้ข้อมูลแต่ละชนิด ยังใช้เนื้อที่หน่วยความจำ (memory) ไม่เท่ากันจึงมีการแบ่งชนิดของข้อมูล
ดังแสดงใน
ตารางด้านล่าง
         

          ตัวแปร (variable) เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ การอ้างถึงตำแหน่งของข้อมูลนี้
จึงมีความซับซ้อน ไม่สะดวกต่อการเขียนโปรแกรม จึงมีการเรียกหน่วยความจำ ในตำแหน่งที่สนใจผ่านตัวแปร

          การประกาศตัวแปร (variable declaration) คือการจองเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บค่าบางอย่าง
พร้อมทั้งกำหนดชื่อเรียกแทนหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมมีความสะดวกในการเข้าถึง
ค่าที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำดังกล่าว


ฟังก์ชันในภาษาซี




 . . . ฟังก์ชันในภาษา C . . .

    ในการทำงานบางอย่างจำเป็นต้องใช้คำสั่งมากกว่า 1คำสั่งเพื่อทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งคำสั่งที่เขียนรวมกันไว้ใช้งานจะเรียกว่าฟังก์ชัน (Function)     
    โครงสร้างของโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา C ภายในโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันต่างๆ อย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชันเสมอนั่นคือ ฟังก์ชัน main() ซึ่งเป็นฟังก์ชันหลักที่โปรแกรมภาษา C จะเริ่มทำงานจากจุดนี้ โดยฟังก์ชัน main() อาจจะมีการใช้ฟังก์ชันย่อยๆ ต่อไปอีก

ข้อดีของการสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใช้งาน

คือ ถ้าเราต้องการทำงานที่ซ้ำซ้อน หรือทำงานใดซ้ำกันหลายครั้ง เช่น หากต้องการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมด 10 รูป เราต้องเขียนคำสั่งหาพื้นที่ทั้งหมด 10 ครั้ง ดังนั้นหากเราสร้างฟังก์ชันหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมก็จะสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันดังกล่าวเมื่อใดก็ได้

ฟังก์ชันมาตรฐานหรือไลบราลีฟังก์ชัน

เป็นฟังก์ชันที่มีมาให้พร้อมกับตัวแปลภาษา C เพื่อใช้งานได้ทันที และใช้ในงานด้านต่างๆ โดยเน้นงานพื้นฐาน เช่น ฟังก์ชันคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันสำหรับจัดการข้อความ ฟังก์ชันเวลา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เขียนภาษา C มีความสะดวกมากขึ้น

ฟังก์ชันสตริง

สตริง (string) หรืออะเรย์ตัวอักษร  คือ  ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรที่มีการเรียงต่อเนื่องกันไป  โดยมีจุดสิ้นสุดของข้อมูลสตริงที่ตัวอักษร NULL  character เขียนด้วย ‘’

ฟังก์ชันมาตรฐานที่เกี่ยวกับสตริงที่ภาษาซีเตรียมไว้ให้เรียกใช้  ดังนี้

l gets( )  เป็นฟังก์ชันใช้รับค่าสตริง

l puts( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้แสดงผลสตริง

l strcat( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ต่อสตริง 2 ตัวเข้าด้วยกัน

l strcmp( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้เปรียบเทียบสตริง 2 ตัว

l strcpy( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้ก๊อปปี้สตริง


l strlen( )  เป็นฟังก์ชันที่ใช้เพื่อหาความยาวของสตริง

ผังงาน Flowchart


ความหมายของผังงาน

            ผังงาน (Flowchart)
 คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า


ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท

             1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย
            2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ 


ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 3 มิติ




. . . โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ . . .

          โปรแกรม SketchUp 

                 เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google ชื่อเสียงเรียงนามของผู้พัฒนา ก็คงไม่ต้องบรรยายแล้วว่าดีหรือไม่ดี ที่คราวนี้เข็นเจ้า โปรแกรมออกแบบบ้านหรือเอาไว้ สร้างโมเดล 3 มิติ ออกมาภายใต้ชื่อ Google SketchUp ออกมาให้คนอยากออกแบบ อยากเล่น อยากลอง อยากฝึกใช้ได้ทดลองใช้ หรือจะให้เด็กๆ ลองใช้ โปรแกรมออกแบบบ้าน ฝึกจินตนาการ ของเด็ก และเยาวชน โปรแกรมออกแบบบ้าน ชั่วหัวว่าใช้ออกแบบบ้าน แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ โปรแกรมออกแบบบ้าน อย่างเดียวแต่ โปรแกรม Google SketchUp ยังสามารถ ออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือ เครื่องจักร เครื่องกล กันได้อย่างง่ายๆ แถมเผลอๆ หาก ออกแบบ กันดีๆ ยังเอาไปใช้งานจิงๆ ได้อีกด้วย รวมถึง โปรแกรม SketchUp นี้ยังสามารถนำไป ออกแบบ วัตถุเล็กๆ น้อยๆ อาทเช่น ทั้ง ออกแบบระเบียงบ้าน ออกแบบหน้าต่าง ออกแบบประตู ออกแบบตู้ ออกแบบโต๊ะ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานต่อเติมบ้าน


ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 2 มิติ

 



LibreCAD โปรแกรมออกแบบ LibreCAD 
   
                   เป็น โปรแกรมออกแบบ 2 มิติ หรือที่เรียกว่า CAD 2D (Computer-Aided Design Program) ที่อยู่ในโปรเจคโอเพ่นซอร์ส (Open-Source) เป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากนักพัฒนาโปรแกรมฝีมือดีจากทั่วโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน โปรแกรมออกแบบ ตรงนี้ได้เป็นพื้นที่ ที่จะมาร่วมออกแบบแล้วพัฒนาร่วมกัน โดยโปรแกรมออกแบบ ตัวนี้สามารถออกแบบวัตถุต่างๆ ได้ 2 มิติ (2D) เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ออกแบบวัตถุ สิ่งของ หรืออะไรก็ได้ที่ง่ายๆ อาทิเช่น กลไกของเครื่องจักรกล วิศวกรออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เป็น โปรแกรมออกแบบบ้านได้ดี หรือจะไปใช้ ออกแบบครัวเรือน ออกแบบตึก ออกแบบอาคาร ออกแบบห้อง เพื่อใช้สอยในกิจการ หรือ สถานการณ์ ต่างๆ รวมไปถึงการออกแบบถุงพลาสติก ออกแบบเสื้อผ้า ด้านหน้าด้านหลัง ได้เป็นอย่างดี แล้วแต่ตามใจชอบ

เทคโนโลยีสะอาด



. . . เทคโนโลยีสะอาด คืออะไร . . .

            เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียที่แหล่งกำเนิด เป็นการลดภาระในการกำจัดของเสีย  ช่วยประหยัดวัตถุดิบและพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกทั้งเป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพของการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวไปสู่มาตรฐาน ISO14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย

          หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
            หลักการของเทคโนโลยีสะอาดเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ซึ่งจะเห็นว่าหลักการของเทคโนโลยีสะอาดเป็นการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ปัญหานั่นเอง  โดยหลักการของเทคโนโลยีสะอาด สรุปได้ดังนี้

1.  การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1  การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ อาจทำได้โดยการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
1.2  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
      1.2.1  การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการเติมสิ่งปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
      1.2.2  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าช่วยปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้
      1.2.3  การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เสียลดลง และยังทำให้เกิดของเสียที่จะต้องจัดการกำจัดลดน้อยลง โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิตกระบวนการงานและขั้นตอนบำรุงรักษาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดระบบ การบริหารการจัดการในโรงงาน

2.  การนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ
2.1  การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยหาทางนำวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพมาใช้ประโยชน์ หรือหาทางใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่ในของเสีย โดยนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการผลิตอื่นๆ
2.2  การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้อีก หรือเพื่อทำให้เป็นผลพลอยได้

แนวทางของเทคโนโลยีสะอาด

            แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด ในการกำจัดมลพิษจากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยทำได้ตามขั้นตอนโดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยดังนี้
1.
 การลดที่แหล่งกำเนิด      
2. การใช้หมุนเวียน
3.
 การบำบัด                          
4. การปล่อยทิ้ง       

            การแก้ปัญหาตามแนวทางเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นการลดที่ต้นเหตุกล่าวคือเน้นที่การลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้ปริมาณที่พอดีและเหลือเป็นของเสียน้อยที่สุดของเสียที่ออกมาต้องนำมาผ่านกระบวนการเพื่อจะนำกลับมาใช้ใหม่จะทำให้ลดปริมาณของเสียและต้นทุนของการใช้สารเคมีให้น้อยลงของเสียที่ยังคงเหลืออยู่ต้องผ่านกระบวนการบำบัดจนมีคุณสมบัติดีพอที่จะปล่อยทิ้งได้  การลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจึงเป็นแนวทางหลักของเทคโนโลยีสะอาดมากกว่าการแก้โดยการบำบัดดังเช่นที่ทำกันโดยทั่วไป ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

เทคนิคของเทคโนโลยีสะอาด

            เทคโนโลยีสะอาด จะเน้นการลดที่แหล่งกำเนิดและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยในการทำจะต้องมีการศึกษาถึงกระบวนการผลิตเพื่อหาแนวทางที่จะปรับปรุงกระบวนการในการลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่ของพลังงาน สารเคมี หรือน้ำ
            ในการเสนอทางเลือกเทคโนโลยีสะอาด (CT option) และการดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ มีขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ตามหลักของเทคโนโลยีสะอาด 5 ขั้นตอน คือ
1.      การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning & Organization)
2.      การประเมินเบื้องต้น (Pre-Assessment)
3.      การประเมินผล (Assessment)
4.      การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5.      การลงมือปฏิบัติ (Implementation)

หลังจากที่มีการตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีสะอาดในอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นและการประเมินเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต (Process Flow Chart) พิจารณาการป้อนเข้า (Input) และการจ่ายออก (Output) ของแต่ละปฏิบัติการหน่วย (Unit operation) และสมดุลมวลสารและสมดุลพลังงานขึ้น ทำให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและปริมาณของ ของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ ไม่มีการลงทุนที่สูงเกินไป และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการสอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์จึงลงมือปฏิบัติการ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

การเริ่มต้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด

1.             ผู้บริหารเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่น
2.             พนักงานมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญ
3.             ระบุสาเหตุ แนวโน้มของปัญหาการใช้ทรัพยากรของเสียและสิ่งแวดล้อม
4.             ประเมินวิธีการแก้ไข ปรับปรุงโดยอาศัยความรู้แขนงต่างๆ

5.             เริ่มดำเนินการในส่วนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ หรือคุ้มค่าสูงสุด


การนำเทคโนโลยีสะอาดในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไร รวมทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย โดยหลักการที่สำคัญของเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดและการนำกลับมาใช้ใหม่ (การใช้หมุนเวียน)


5W1H


5W1H: วิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ

What.
      คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร

Who.
     สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน

When.
     หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข

Where.
      เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ 

Why.
      เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน

How.
       เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด


Conclusion.
        5W1H สามารถนำไปใช้หัวข้อใด ๆ เพื่อรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลที่ซับซ้อนทำให้เป็นข้อมูลง่าย